30.09.2560 ออกวิ่งอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับรถไฟเร็ว “หลานโจว-ฉงชิ่ง” สาธารณรัฐประชาชนจีน.

ขอบคุณ ภาพและข้อมูล จาก


China Xinhua News

30.09.2017

01.ออกวิ่งแล้ว!รถไฟทะลุภูเขา “หลานโจว-ฉงชิ่ง” ที่เคยถูกตรา หน้าว่า “ไม่มีทางทำสำเร็จ”


ออกวิ่งแล้ว!รถไฟทะลุภูเขา “หลานโจว-ฉงชิ่ง” ที่เคยถูกตราหน้าว่า “ไม่มีทางทำสำเร็จ”
ออกวิ่งอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับรถไฟเร็ว “หลายโจว-ฉงชิ่ง” ทางรถไฟข้ามภูเขา ที่ไม่ได้มีความยาวมากเท่าไหร่แต่กลับถูกหลายคนตัดสินตั้งแต่ยังไม่ได้สร้างว่ายากเกินไป “เป็นไปได้ได้หรอก” แต่เชื่อไหมว่าหลังจากการก่อสร้างที่ใช้กองทัพคนงานถึง 100,000 คนและกินเวลายาวนานถึง 9 ปี รถไฟสายนี้ก็ได้ออกวิ่งอย่างเป็นทางการ ในขณะเดียวกันก็เอาชนะทุกความท้าทายและลบทุกคำสบประมาทได้อย่างเต็มภาคภูมิ
โดยความยาวตลอดสายของของทางรถไฟสายนี้อยู่ที่ 886 กิโลเมตร รถไฟวิ่งด้วยความเร็วที่ 160 กม./ชม. แต่มีบางช่วงที่อาจวิ่งด้วยความเร็ว 200 กม./ชม. จากต้นสายถึงปลายสายใช้เวลารวม 6 ชั่วโมง เรียกได้ว่า ตอนเช้ากินบะหมี่หลานโจวของแท้ ตกบ่ายจัดหม้อไฟฉงชิ่งสูตรต้นตำหรับก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้อีกต่อไป
นอกจากนี้เจ้าม้าเหล็กตัวนี้ก็ยังเป็นตัวการสำคัญที่จะนำความเจริญทางเศรษฐกิจไปกระจายให้กับพื้นที่รายทางที่มันวิ่งผ่านอีกด้วย ทางรถไฟที่สร้างขึ้นด้วยอุโมงค์ 226 แห่งและสะพานอีก 396 แห่งสายนี้เคยเป็นความฝันที่อยู่ในแผนพัฒนาประเทศของดร.ซุนยัดเซ็นเมื่อ 100 ปีก่อน และตอนนี้มันไม่ได้เป็นแค่ความฝันอีกต่อไป!
“เซี่ยลี่” วิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านการขุดเจาะอุโมงค์ในโครงการนี้เคยกล่าวไว้ว่า “ขุนเขาที่เจาะไม่ทะลุนั้นหามีไม่ แม่น้ำที่ข้ามไปไม่ได้ก็หามิได้เช่นกัน" ผมเซี่ยลี่เคยขุดอุโมงค์เทือกเขาหูหม่า สำหรับผมนี่คือเกียรติยศที่จะติดตัวไปตลอดชีวิต”

 02. รถไฟเร็ว สาย “หลานโจว-ฉงชิ่ง" สาธารณรัฐประชาชนจีน.




 03. รถไฟเร็ว สาย “หลานโจว-ฉงชิ่ง" สาธารณรัฐประชาชนจีน.


 04.รถไฟเร็ว สาย “หลานโจว-ฉงชิ่ง" สาธารณรัฐประชาชนจีน.

05.รถไฟเร็ว สาย “หลานโจว-ฉงชิ่ง" สาธารณรัฐประชาชนจีน.

06. การก่อสร้างที่ใช้กองทัพคนงานถึง 100,000 คนและกินเวลายาวนานถึง 9 ปี...

The Rhythm of China.
30.09.2017
-----------------------------------------------------------------

หลานโจว 
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หลานโจว (จีนตัวย่อ: 兰州, จีนตัวเต็ม: 蘭州) คือ เมืองหลวงของมณฑลกานซู่

ประวัติศาสตร์

การตั้งหลักปักฐานในบริเวณนี้เพื่อ ราชวงศ์ฮั่น และมีประวัติศาสตร์ประมาณ 2,000 ปี เดิมถูกเรียกว่าเมืองสีทอง เป็นทางผ่านที่สำคัญของเส้นทางสายไหม และถูกป้องกันการรุกรานโดยกำแพงเมืองจีน

ภูมิอากาศ

ภูมิอากาศเป็นแบบกึ่งแห้ง จัดอยู่ในเขตหนาว

หลานโจว เป็นหนึ่งในเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในจีน อากาศแย่จนบางเวลาไม่สามารถเห็นภูเขาหลานซาน (Lanshan) ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของเมือง เมืองถูกตั้งอยู่ในหุบเขาแคบและโค้ง ซึ่งทำให้อากาศไม่ถ่ายเท หลานโจวยังเป็นที่ตั้งของโรงงานมากมาย รวมถึงการโรงงานแปรรูปปิโตรเลียม และได้รับผลกระทบจากพายุฝุ่นซึ่งพัดพามาจากทะเลทรายโกบี โดยเฉพาะในฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ

 02.1 เมือง หลานโจว เมืองหลวงของ มณฑลกานซู่  สาธารณรัฐประชาชนจีน.



02.2 แม่น้ำสีเหลืองเห็นจากสวนสาธารณะของสถูปสีขาว

---------------------------------------------------------------------------------------

มณฑลกานซู่ 
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มณฑลกานซู่ (จีนตัวย่อ: 甘肃省, จีนตัวเต็ม: 甘粛省) ชื่อย่อ กาน หรือ หล่ง (甘, 陇) ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ตอนบนของแม่น้ำฮวงโห (แม่น้ำเหลือง) มีเมืองหลวงชื่อ หลานโจว



03.1 มณฑลกานซู่ 


ที่ตั้งและอาณาเขต.

มณฑลกานซู่มีพื้นที่ติดต่อดังนี้


ภูมิอากาศ

ฤดูกาลทั้ง 4 มีความแตกต่างอย่างชัดเจน คือ ฤดูหนาวหนาวเย็น และยาวนาน ฤดูใบไม้ผลิอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ฤดูร้อนช่วง สั้นๆอากาศเย็นสบาย ฤดูใบไม้ร่วงอากาศเย็นสบายแต่อุณหภูมิลดต่ำเร็ว อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 0-15 องศา

การแบ่งเขตการปกครอง

มณฑลกานซู่แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 14 เมืองหรือจังหวัด (市) 4 เทศมณฑลระดับเมือง (市) 58 เทศมณฑล (县) 17 เขต (区) และ 7 เขตปกครองตนเอง (自治县)

---------------------------------------------------------------------

ฉงชิ่ง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฉงชิ่ง หรือ จุงกิง (จีนตัวย่อ重庆市จีนตัวเต็ม重慶市พินอินChóngqìng Shì) เป็นเขตเทศบาลนคร ตั้งอยู่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีพื้นที่ติดกับมณฑลหูเป่ย์ หูหนัน กุ้ยโจว เสฉวนและส่านซี ภายในตัวเมืองมีแม่น้ำไหลพาดผ่านหลายสายเป็นเมืองขนาดใหญ่อันดับ 8 ของจีน มีเนื้อที่ 82,300 ก.ม.² มีประชากร (พ.ศ. 2548) 31,442,300 คน ความหนาแน่น 379/ก.ม.² จีดีพี (2005) (310) พันล้านหยวน รวมต่อประชากร 8,540 พันล้านหยวน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น


04.1 ฉงชิ่ง หรือ จุงกิง


ภูมิประเทศ

ตั้งอยู่ทางตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียง ที่ตั้งและอาณาเขต ฉงชิ่งมีพื้นที่ติดต่อดังนี้


ภูมิอากาศ

มีอุณหภูมิระหว่าง 24-25 องศาเซลเซียส สำหรับอุณหภูมิสูงสุดโดย เฉลี่ย 29-29.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ย 20.6-21 องศาเซลเซียส

เศรษฐกิจ

นครฉงชิ่งมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 266,539 ล้านหยวน (ปี 2004) เพิ่มขึ้น 12.2%
เกษตรกรรม
มีผลผลิตอุดมสมบูรณ์ และเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ ได้แก่ วัตถุดิบข้าว หมู รังไหม ส้ม ส้มจีน และใบยาสูบ ปี 2003 พื้นที่การเกษตรลดลง 5.3% แต่ผลผลิตเพิ่มขึ้น 0.5%
อุตสาหกรรม
ฉงชิ่งเป็นหนึ่งในสามของแหล่งสินแร่ที่สำคัญของประเทศ เท่าที่สำรวจพบ ได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ สตรอนเตียม อะลูมิเนียม แมงกานีส หินปูน ยิปซั่ม ปรอท หินเขี้ยวหนุมาน หินเกลือ และอื่นๆ กว่า 38 ชนิด ในจำนวนนี้แร่สตรอนเตียมมีมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ และเป็นอันดับสองของโลก ฉงชิ่งเป็นหนึ่งในเขตอุตสาหกรรมเก่าแก่ของจีน ในปี 2003 มีมูลค่าการเติบโตทางการผลิตในภาคอุตสาหกรรมสูงถึง 76,836 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 16.4% อุตสาหกรรมหลัก 3 ประเภทที่ก่อรูปก่อร่างขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกล
การค้าระหว่างประเทศ ปี 2003 มูลค่าการนำเข้าส่งออก 2,595 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 44.6% ในจำนวนนี้เป็นมูลค่าส่งออก 1,585 ล้านเหรียญฯ และมูลค่านำสินค้านำเข้า 1,010 ล้านเหรียญฯ

การศึกษา
ฉงชิ่ง มี มหาวิทยาลัยฉงชิ่ง (重庆大学) มหาวิทยาลัยซีหนาน

04.2 นครฉงชิ่ง


 04.3 ตึกสมัยใหม่

 04.4 วิวฉงชิ่ง

 04.5 ริมน้ำแยงซี

 04.6 รถราง Cable car บริเวณท่าเรือ

04.7 ชาวจีนเหยื่อของการโจมตีทางอากาศโดยทหารอากาศญี่ปุ่นที่เสียชีวิตขณะกำลังพยายามวิ่งไปหลุมหลบภัย ถ่ายเมื่อ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1941
-------------------------------------------------------------------------------------------
ขอบคุณ ข้อมูลจาก http://www.oceansmile.com/China/YangziCongcing.htm


 รู้จักมหานครฉงชิ่ง

• ฉงชิ่ง หรือ จุงกิง ตั้งอยู่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเมืองหลวงของรัฐบาลจีนพรรคก๊กมินตั๋ง ในสมัยที่ญี่ปุ่นรุกรานประเทศจีน แต่เดิมนั้นฉงชิ่งเป็นเมืองเอกที่ขึ้นกับมณฑลเสฉวน ต่อมาเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1997 ทางรัฐบาลกลางของจีนได้ประกาศให้ฉงชิ่งเป็นเขตปกครองพิเศษ แยกออกมาเป็นมหานครฉงชิ่งขึ้นตรงกับรัฐบาลกลาง จึงทำให้ฉงชิ่งเป็นมหานครที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีนและเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมทางบก ทางน้ำและทางอากาศที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้

• ศูนย์กลางบริหารโครงการเขื่อนยักษ์ของโลก

• หลังจากที่รัฐบาลจีนเปิดโครงการอภิมหาอมตะข้ามศตวรรษกับโครงการเขื่อนยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก (ระหว่าปี ค.ศ. 1994 - 2009) นั่นคือ เขื่อนซานเสียต้าป้า ที่สร้างกั้นกลางแม่น้ำแยงซีเกียงกับเงินลงทุนมากถึง 203,400 ล้านดอลลาร์ โครงการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำและโครงการป้องกันอุบัติภัยธรรมชาติ ทำให้เมืองฉงชิ่งเป็นศูนย์กลางการบริหารโครงการเขื่อนซานเสียต้าป้า

-------------------------------------------------------------------------



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

23.10.2560 เขื่อนซานเสียต้าป้า (三峡大坝) หรือเขื่อนสามผา ซึ่งจัดเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ได้ดำเนินการทดสอบกักเก็บน้ำจนเสร็จสิ้น โดยระดับน้ำภายในอ่างเก็บน้ำที่มีความจุเต็มอัตรา 39,300 ล้านลูกบาศก์เมตรได้แตะขีดสูงสุดที่ 175 เมตรเมื่อวันเสาร์ (21 ต.ค.2560) ที่ผ่านมา

04.10.2560 เหตุใดองุ่นที่ปลูกในเมืองถูหลู่ฟานของซินเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน ถึงหวานกว่าที่อื่น?

06.06.2561 เต่าดาว 500 ตัวเกิดใน Minsontaung Wildlife Sanctuary or Minzontaung Wildlife Sanctuary ตำบล.นว่าโท่จี้ อำเภอ.มยีจาน ภูมิภาคมัณฑะเลย์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา.